วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สนุกรู้...5 สัมผัส จากของกิน

โดย: กมลชนก

หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเจ้าหนู



สัมผัสทั้ง 5 กลไกในการเรียนรู้ที่มีติดตัวเจ้าหนูมาตั้งแต่เกิด เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็นของลูกที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม
โดยผ่านการชิม ดม สัมผัส มองเห็น และได้ยิน

นี่คือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเจ้าหนูอ.1 ทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน

ทำไมต้อง 5 สัมผัส


น้องเล็กวัยนี้เขาสามารถเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน สัมผัส หรือดมกลิ่น แล้วแปลเป็นการรับรู้ได้ค่ะ เช่น เวลาเจ้าหนูได้กลิ่นหอมโชยมาจากห้องครัวเมื่อไร ก็จะวิ่งตรงมาที่โต๊ะอาหารทันที เพราะเขารับรู้ว่าถ้าได้กลิ่นแบบนี้ แสดงว่าคุณแม่กำลังทำของอร่อยๆ มาให้

สิ่งนี้เรียกว่าประสบการณ์ ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงกันทั้งภาพ เสียง กลิ่น สัมผัส ออกมาในรูปแบบของการรับรู้ค่ะ ทำให้เขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าคำพูดหรือการบอกกล่าวของคุณแม่

สัมผัสที่ 1 ชิมรส : ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากลอง น้องเล็กวัยนี้จึงโปรดปรานการชิมอาหารเป็นทุนเดิม ที่สำคัญเขาสามารถกินอาหารที่หลากหลายได้มากขึ้นแล้ว ลองให้เขาชิมอาหารที่มีหลายๆ รสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวาน หรืออาหารหลายๆ แบบ เช่น ผลไม้นิ่มๆ กรอบ เป็นการช่วยกระตุ้นประสาทรับรสของเขาและฝึกการเคี้ยว

Tip ชวนลูกสนุกกับการกินด้วยการ เช่น ?ลูกลองชิมดูสิค่ะว่าในข้าวผัดจานนี้ คุณแม่ใส่ส่วนประกอบอะไรบ้าง? เป็นการฝึกให้เขารู้จักแยกแยะด้วยการให้ทายส่วนผสมของอาหาร

สัมผัส ที่ 2 ตาดู : เป็นทักษะที่เขาใช้บ่อยที่สุดค่ะ อาจชี้ชวนให้เขาสำรวจวัตถุดิบในตู้เย็น สังเกตลักษณะของผักผลไม้ชนิดต่างๆ ทั้งสี ลักษณะใบ และฝึกให้เขาได้ลองเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของผักแต่ละชนิด พร้อมสอดแทรกเรื่องราวน่ารู้ เช่น ?ที่ใบผักคะน้ามีรู เพราะว่ามันโดนหนอนกิน แสดงว่าคะน้าต้นนี้ไม่มียาฆ่าแมลงค่ะ?

Tip ชวนหนูสนุกกับการเรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตจากผักผลไม้ เช่น ทรงกลมจากแตงโม พอแบ่งครึ่งแล้วกลายเป็นครึ่งวงกลม พอแบ่งครึ่งอีกทีกลายเป็นทรงปิรามิด

สัมผัส ที่ 3 หูฟังเสียง : การฟังเป็นทักษะที่ช่วยให้เจ้าหนูมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี และสามารถแยกแยะเสียงต่างๆ ได้ดีเมื่อได้ยินเสียงนั้นบ่อยๆ ค่ะ เช่น เสียงคุณแม่บอกชื่อผักชนิดต่างๆ เสียงสับหมู เสียงตำน้ำพริก สิ่งสำคัญคือต้องให้เขาได้เห็นต้นตอเสียงนั้นด้วยว่าคืออะไร การได้ยินซ้ำๆ จะทำให้เขารับรู้และจดจำได้ค่ะ

Tip สนุกกับการฟังและเสียงที่หลากหลาย เช่น นำวัสดุต่างๆ มาเขย่าในขวดพลาสติก แล้วให้เจ้าหนูลองทาย เช่น น้ำ เมล็ดถั่ว เกลือ

สัมผัส ที่ 4 กายสัมผัส : เป็นทักษะที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเจ้าหนูได้มากเลยค่ะ การเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้มือหรือส่วนต่างๆ สัมผัสกับพื้นผิวต่างๆ ของอาหาร เช่น เส้นสปาเก็ตตี้ก่อนต้ม และหลังต้มแตกต่างกันอย่างไร เยลลี่ หรือพื้นผิวของผักผลไม้ต่างๆ

Tip ให้หนูช่วยเป็นลูกมือในครัว คอยหยิบวัตถุดิบส่งให้คุณแม่ ให้เขาได้สัมผัสถึงรูปทรง ลักษณะพื้นผิว แถมยังได้ฝึกเป็นตาชั่งด้วยสองมือของหนูเองอีกด้วย

สัมผัส ที่ 5 ดมกลิ่น : สัมผัสสุดท้ายที่ถูกละเลยมากที่สุดค่ะ คุณสามารถช่วยกระตุ้นทักษะนี้ได้โดยให้เขาดมกลิ่นอาหารต่างๆ ที่ไม่ฉุนเกินไป เช่น กลิ่นหอมคุกกี้ในเตาอบ กลิ่นกาแฟของคุณพ่อ กลิ่นใบเตย จะช่วยให้เขาจดจำและสามารถแยกแยะกลิ่นต่างๆ ได้มากขึ้น

Tip ไม่ต้องถึงขนาดว่าจะต้องให้เขาจดจำกลิ่นทุกอย่างได้หมดนะคะ ค่อยเป็นค่อยไปดีที่สุดค่ะ

ทีนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วล่ะค่ะว่าจะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เจ้าหนูได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่การส่งเสริมและกำลังใจที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ



จาก: นิตยสาร Kids & School

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เลือกนมผงสำหรับเด็กอย่างไรดี

1. นมผงสำหรับทารก ที่แบ่งตามช่วงอายุต่างๆ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร เราจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด ในการเลือกนมให้บุตรตามช่วงอายุดังนี้
- แรกเกิด ถึง 1 ปี
- 6 เดือน ถึง 3 ปี
- 1 ปี ถึง 3 ปี
2. ดิฉันมีลูกอายุ 1 ปี 2 เดือน ให้ดื่มนมพาสเจอร์ไรซ์ในตอนกลางวัน (แบบแช่เย็น) แทนนมผงจะเป็นอย่างไรไหมคะ
3. การดื่มนมสดเป็นกล่องหรือเป็นขวดจะแตกต่างจากการกินนมผงหรือไม่คะ
4. ในนมผงหลายยี่ห้อแจ้งว่ามีการเติมแร่ธาตุชนิดต่างๆมากมาย จะมีประโยชน์กว่านมสดจริงหรือ
5. เด็กวัยขนาดนี้ ควรจะดื่มนมวันละกี่ออนซ์คะ
ขอความกรุณาช่วยตอบด้วยนะคะ

อาจารย์ประไพศรี ศิริจักรวาล : ผู้ตอบ 1. นมผงสำหรับทารกและเด็กที่แบ่งเป็นช่วงๆนั้น ความแตกต่างอยู่ที่ส่วนประกอบของนมชนิดต่างๆ การเลือกชนิดที่ถูกต้องจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ เติบโตดี ลดปัญหาท้องเดินและแพ้นม โดยทั่วๆไป นมสำหรับทารกและเด็กแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่
1. นมผงดัดแปลงสำหรับทารก เป็นนมที่ดัดแปลงสารอาหารให้ใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด โดยมีโปรตีนระหว่าง 1.5 ถึง 1.8 กรัม ต่อนม 100 มิลลิลิตร ปรับอัตราส่วนเคซีนเวย์ และปรับปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้ลดลง อาจมีการเติมกรดอะมิโนทอรีน และธาตุเหล็ก ใช้ได้กับทารกแรกเกิดถึงประมาณ 6 เดือน
2. นมสูตรต่อเนื่องใช้สำหรับ ทารกอายุ 5 ถึง 6 เดือนขึ้นไป จนอายุ 1 ถึง 3 ปี ปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 2.5 ถึง 3.3 กรัม ต่อนม 100 มิลลิลิตร มีการปรับไขมันโดยใช้น้ำมันพืชแทน และมักจะมีการเติมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ลงไปด้วย
3. นมผงครบส่วน เป็นนมสดที่ระเหยน้ำออกจนเป็นผง เมื่อเติมน้ำตามสัดส่วน จะได้โปรตีน 3.3 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร มีการเติมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ส่วนใหญ่ราคาจะแพงกว่าชนิดที่ไม่มีการ เติมสารอาหาร นมผงครบส่วนนี้เด็ก ควรได้รับเมื่ออายุครบ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเด็กได้รับอาหารครบ 5 หมู่ อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้นมผงครบส่วนเติมสารอาหาร
2. ลูกอายุ 1 ปี 2 เดือน ดื่มนมพร้อมดื่มได้แล้วทุกมื้อ
3. นมกล่อง (นมยูเอชที) หรือขวด (นมพาสเจอร์ไรซ์) ไม่แตกต่าง กันในแง่คุณค่าทางโภชนาการ แต่การเก็บรักษาจะต่างกัน กล่าวคือ
- นมพาสเจอร์ไรซ์ต้องเก็บในตู้เย็น และระยะเวลาเก็บสั้นเพียง 3-7 วัน
- นมยูเอชทีเก็บได้นาน 6 เดือนในอุณหภูมิปกติ ไม่ต้องแช่ตู้เย็น
- นมผงเก็บได้นานกว่า อาจได้ถึง 1 ปี ถ้าดูแลการเก็บดีๆ
4. นมผงหลายยี่ห้อแจ้งว่ามีการเติมแร่ธาตุชนิดต่างๆ มากมายซึ่งอาจมีประโยชน์ในกรณีที่ผู้บริโภคนั้นขาดสารอาหารที่มีการเติมลงไปแต่ในภาวะปกติ ถ้ากินอาหารครบ 5 หมู่ และได้ปริมาณเพียงพอ ก็ไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้ต้องดูภาวะโภชนาการของแต่ละคน
5. เด็ก 1 ปี 2 เดือน ควรดื่มนมวันละประมาณ 2 ถึง 3 แก้ว หรือประมาณ 20 ออนซ์

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นเสริมไอคิวเด็ก

ของเล่นพัฒนาไอคิวเด็ก
เรื่อง : อาทิตย์ บุญรอด

ประเทศ ไทยจัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่นเดียวกับประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันอย่างประเทศเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย การที่แต่ละประเทศจะพัฒนาประเทศของตนเองให้สามารถแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจ ไม่ให้เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจ การค้านั้น ตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ พัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก หรือที่เรียกว่า ไอคิว

ไอคิวคือหน่วยที่ ใช้วัดความฉลาดทางปัญญา ความคิด การคำนวณ การใช้เหตุผล การวัดนี้ไม่ใช้ความจำ เพราะคนที่จำเก่งๆ อาจจะไม่ใช่คนที่ฉลาดก็ได้ ระดับของไอคิวมีดังนี้


- ไอคิว 130 ขึ้นไป ถือว่าฉลาดมาก
- 120 - 129 ฉลาดกว่าปกติ
- 110 - 119 ฉลาด
- 90 - 109 ปกติ
- 80 - 89 ด้อยปัญญา
- 70 - 79 คาบเส้น
- ต่ำกว่า 70 ปัญญาอ่อน

เด็ก แรกเกิด จนถึงช่วงวัย 14 – 15 ปี ถือเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ เด็กจะอยากรู้ อยากเห็น และอยากทำในสิ่งที่ชอบเท่านั้น ของเล่นคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับช่วงวัยเด็ก ของเล่นที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มของ “ของเล่นหลอกเด็ก” ไม่ช่วยในการพัฒนาสมองเด็กสักเท่าไร ยกตัวอย่าง เช่น ของเล่นที่แถมมาจากการซื้อขนม โดยจะมีให้เลือกสะสมหลายแบบ ทำให้เด็กติด และต้องซื้อเป็นประจำ เพราะไม่ต้องการให้น้อยหน้าเพื่อน ปัจจุบันได้มีการผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะการเรียน รู้ และความคิดให้กับเด็กไปพร้อมกับความเพลิดเพลิน ทั้งฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการทำงานร่วมกันระหว่างมือและสายตา รวมไปถึง ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว อีกทางหนึ่งด้วย


การพัฒนาไอคิวเด็กต้องพัฒนาตามศักยภาพของตัวเด็ก ไม่ใช่ตามใจพ่อแม่ เด็กบางคนมี
สติปัญญาดี สามารถเรียนรู้อะไรได้ดี พ่อแม่จะส่งเสริมไปที่วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาต่างๆ เพราะเห็นว่าเป็นภาษาหลักที่สำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ทั้งหมด การปล่อยให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เขาชอบนอกเหนือจากการเรียน ถือเป็นเรื่องที่ดีและช่วยให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวได้ เช่น การเขียนเรียงความ แต่งกลอน วาดรูป ระบายสี ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ และเมื่อได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ เด็กจะมีความมั่นใจในสิ่งที่ทำ นอกจากนี้ การฟังดนตรีคลาสสิก การได้ฟังเพลงที่ร้องโดยพ่อแม่ จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กแรกเกิดได้ดี และที่มีประโยชน์อย่างมากอีกรูปแบบหนึ่ง คือการเล่นของเล่นประเภทจิ๊กซอว์ ต่อภาพ โยนห่วง จะมีผลต่อการงอกงามของเซลล์ประสาทได้ดีมาก โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด ถึง 3 ขวบ

เรียงความเรื่องแม่

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

          ความลับของสี

              สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้
  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
  • แก้วใส่น้ำ
วิธีทดลอง
    • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
    • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
    • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
    • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
    • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป
เพราะอะไรกันนะ
                สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
    1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน

    2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน


สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น
                                                 ความลับของสี

              สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้
  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
  • แก้วใส่น้ำ
วิธีทดลอง
    • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
    • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
    • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
    • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
    • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป
เพราะอะไรกันนะ
                สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ

    1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน

    2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน


สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป



                                                       หลักการของหลักสูตรไฮ/สโคป


ความเป็นมาดร.เดวิด ไวคาร์ท (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป (High/Scope Educational Research Foundation) เป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับคณะนักวิชาการและนักวิจัย อาทิ แมรี่ โฮแมน (Mary Hohmann) และ ดร.แลรี่ ชไวฮาร์ต (Dr.Larry Schweinhart) พัฒนาขึ้นจากโครงการเพอรี่ พรี สคูล (Perry Preschool Project) ตั้งแต่พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Head Start เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้มีการศึกษาที่เหมาะสม และประสบความสําเร็จในชีวิต
มูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคปได้ศึกษาเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนจากครูโดยตรง (Direct Instruction) กลุ่มเนอร์สเซอรี่แบบดั้งเดิม (Traditional Nursery) และกลุ่มที่ได้รับประสบการณ์โปรแกรมไฮสโคป จากการศึกษาติดตามเด็กเหล่านี้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมไฮสโคปมีปัญหาพฤติกรรมทางสังคม-อารมณ์ เช่น การถูกจับข้อหาลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น บกพร่องทางอารมณ์ และล้มเหลวในชีวิตน้อยกว่าอีก 2 กลุ่ม ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงพิสูจน์ได้ว่าช่วยป้องกันอาชญากรรรม เพิ่มพูนความสำเร็จทางการศึกษาและผลผลิตตลอดชีวิต (Weikart and others, 1978 และSchweinhart, 1988 และ 1997)
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ได้ง่าย เผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ครูจำนวนมากกว่า 33,000 คน ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และจากการสำรวจสมาชิกมากกว่า 200,000 คน ของสมาคมการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ (NAEYC) พบว่า ร้อยละ 28 ของสมาชิกได้รับการฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และร้อยละ 44 ใช้โปรแกรมไฮสโคปในบางบริบทด้วย (Schweinhart, 1997)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระและทฤษฎีของไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น
หลักการโปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่
1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเลือกและการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอดทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่เฉพาะในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น
2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาสเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาสในการแก้ปัญหามากขึ้นด้วย
3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตนกําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้าอีกในชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทําเราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก (Adult-Child Interaction)
การเรียนรู้แบบลงมือกระทํานั้นจะประสบความสําเร็จได้ เมื่อผู้ใหญ่และเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไฮสโคปจึงเน้นให้ผู้ใหญ่สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัยให้แก่เด็ก การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้นเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เด็กจะกล้าพูด กล้าแสดงออก และกล้าปรึกษาปัญหา ผู้ใหญ่จะต้องใส่ใจแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่เบื่อหน่ายที่จะตอบคําถามของเด็ก หรือป้อนคําถามให้เด็กเกิดความคิด จินตนาการ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้นนับได้ว่ามีคุณค่ามากกว่าการยกย่อง ชมเชย การให้รางวัล
ปัจจัยสําคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์
1. ความไว้วางใจ (Trust) ความไว้วางใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประสบการณ์ในช่วงนี้เป้นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนา "ความไว้วางใจ" ในวัยต่อมา โดยเริ่มจากบุคคลในครอบครัวและขยายต่อไปยังโรงเรียนและวงสังคมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้จะเป็นการสร้างสัมพันธภาพบนพื้นฐานแห่งความไว้วางใจซึ่งกันและกันต่อไป
2. การเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) การเป็นตัวของตัวเองเป็นความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การทดลองทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองซึ่งจะทําให้เกิดความภาคภูมิใจเมื่อทําสําเร็จ ดังนั้น ถ้าผู้ใหญ่ให้กำลังใจในสิ่งที่เด็กทําได้ตามความสามารถและวิธีการของเด็กแต่ละคน เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีความสามารถพึ่งตนเองและนําตนเองได้
3. ความคิดริเริ่ม (Initiative) เด็กสามารถมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะไปสนับสนุนขั้นความเป็นตัวของตัวเอง ถ้าเด็กได้รับอิสระในการคิด วางแผน และริเริ่มทํากิจกรรมต่างๆ ผู้ใหญ่มีเวลาให้กับเด็กในการตอบคําถามก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมี แนวโน้มที่จะค้นคว้าศึกษา และสํารวจ เด็กจะรู้สึกมั่นใจว่าตนเองเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเลือก ตัดสินใจ และกระทําสิ่งต่าง ๆ ได้
4. การร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) การร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นเป็นความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักสร้างมิตรภาพและความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ในช่วงปฐมวัยเด็กมีความสามารถในการใช้ภาษาดีขึ้น เด็กจะแสดงความรู้สึกของตนเองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้มากขึ้น
 5. เชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งที่แสดงว่าตนเองสามารถประสบความสําเร็จ และสามารถช่วยเหลือสังคมได้ ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งสําคัญที่จะกระตุ้นให้ต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ผู้ใหญ่สามารถพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กได้โดยการสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสประสบความสําเร็จจากการใช้ความสามารถของตนเองอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
กลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้
1. ผู้ใหญ่ให้โอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติ มีส่วนร่วมกับเด็ก เปิดใจรับฟังความคิดเห็น รับรู้ความรู้สึก และความต้องการของเด็ก และเรียนรู้จากเด็ก
2. สนใจในความสามารถของเด็ก ค้นหาความสนใจของเด็ก มองสถานการณ์ในมุมมองของเด็ก ให้พ่อแม่และผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในสิ่งที่เด็กสนใจ วางแผนการเรียนการสอนโดยคํานึงถึงความสามารถและความสนใจของเด็ก
3. สร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างแท้จริง แบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีกับเด็ก เช่น ตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยความเอาใจใส่ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่เด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม ถามและตอบอย่างตรงไปตรงมา
4. ส่งเสริมการเล่นของเด็ก สังเกตและสนใจกับกิจกรรมการเล่นของเด็ก มีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กด้วยบรรยากาศที่สนับสนุน
5. ใช้วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งขณะอยู่ร่วมกัน การแก้ปัญหาความขัดแย้งของเด็กๆ โดยคํานึงถึงความจริง ความมั่นคง และความอดทน จะช่วยให้เด็กรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่ตามมา ปลูกฝังให้เด็กมีความรับผิดชอบ การทํางานร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่และเด็กเพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยดําเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อเป็นการประนีประนอมข้อขัดแย้งและปัญหาที่เกิดขึ้น
           1) ให้เด็กสงบอารมณ์ก่อน
           2) ยอมรับความรู้สึกของเด็ก
           3) รวบรวมข้อมูลจากเด็ก เช่น เกิดอะไรขึ้น อะไรคือสาเหตุให้เด็กอารมณ์เสีย
           4) ย้อนกลับมาถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
           5) ให้เด็กช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหา
           6) คอย และสนับสนุนการตัดสินใจของเด็ก
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีความสําคัญต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ของเด็ก ตามหลักการของไฮสโคปถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเสมือนครูคนที่ 3 และเป็นส่วนหนึ่งของวงล้อการเรียนรู้ ซึ่งมีสาระครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ พื้นที่ สื่อ และการจัดเก็บ โดยแต่ละเรื่องมีรายละเอียด ดังนี้
พื้นที่ (Space)
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทํา เด็กจึงต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พื้นที่ในการใช้สื่อต่างๆ สํารวจ เล่นก่อสร้าง และแก้ปัญหา พื้นที่ในการเคลื่อนไหว พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สําหรับเล่นคนเดียวและเล่นกับผู้อื่น พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว และจัดแสดงผลงาน พื้นที่สําหรับผู้ใหญ่ที่จะร่วมเล่นและสนับสนุนความสนใจของเด็ก การจัดแบ่งพื้นที่ภายในห้องเรียนจะประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื่อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
2. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
3. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
4. พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มีมุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่นซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ ทั้งนี้ ไฮสโคปมีหลักการเรียกชื่อมุมต่างๆ ด้วยภาษาที่เด็กเข้าใจ จะไม่ใช้ภาษาซึ่งเป็นนามธรรมมากๆ เช่น มุมบทบาทสมมติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส นอกจากนี้ ไฮสโคปเชื่อว่ามุมเล่นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของเด็ก เช่น เมื่อเด็กเกิดความสนใจหลากหลายมุมบ้านก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นมุมร้านเสริมสวยมุมหมอ หรือมุมร้านค้าได้ตามบริบทของสิ่งที่เด็กสนใจในขณะนั้น
5. พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น

ํสื่อ ( Materials)
สื่อ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งประเภท 2 มิติ 3 มิติ สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น สื่อที่เอื้อให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีการจัดการใช้สื่อที่เริ่มต้นจากสื่อที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม กล่าวคือ เริ่มต้นจากสื่อของจริง ของจําลอง ภาพถ่าย ภาพโครงร่าง และสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่นเรื่องกล้วย ให้เรียงลําดับสื่อจากกล้วยจริง กล้วยจําลอง ภาพถ่ายกล้วย ภาพวาด หรือภาพโครงร่าง และคําว่า "กล้วย" อยู่ท้ายสุด ทั้งนี้เพราะการใช้สื่อต้องเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจและความต้องการของเด็กที่หลากหลาย ตลอดจนสื่อที่สะท้อนชีวิตครอบครัวของเด็ก ไฮสโคปเน้นหลักการข้อนี้มาก ดังนั้น หนังสือนิทาน นิตยสาร ภาพถ่าย ตุ๊กตา เสื้อผ้า มุมบ้าน มุมดนตรี หรือของเล่น เช่น ภาพตัดต่อ ควรสะท้อนภาษา บรรยากาศ อาชีพ และสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรมในชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย
การจัดเก็บ (Storage)ไฮสโคปให้ความสำคัญกับระบบจัดเก็บสื่อด้วยวงจร "ค้นหา-ใช้-เก็บคืน" (Find-Use-Return Cycle) ตามกรอบแนวคิด ดังนี้
1. สื่อที่เหมือนกันจัดเก็บหรือจัดวางไว้ด้วยกัน
2. ภาชนะบรรจุสื่อควรโปร่งใสเพื่อให้เด็กมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ง่าย และควรมีมือจับเพื่อให้สะดวกในการขนย้าย
3. การใช้สัญลักษณ์ (Labels) ควรมีความหมายต่อการเรียนรู้ของเด็ก สัญลักษณ์ทํามาจากสื่ออุปกรณ์ของจริง ภาพถ่ายหรือภาพสําเนาภาพวาด ภาพโครงร่างหรือภาพประจุด หรือบัตรคําติดคู่กับสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไฮสโคปเชื่อว่าวงจร "ค้นหา-ใช้-เก็บคืน" ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะเด็กๆ ได้ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เด็กได้สั่งสมประสบการณ์ส่งเสริมความรับผิดชอบ รู้จักมีนํ้าใจช่วยเหลือ เป็นการเรียนรู้ทางสังคม ดังนั้น ครูจึงควรจัดเวลา "เก็บของเล่น" ทุกวันอย่างเพียงพอ มีสัญญาณเตือนก?อนเวลาจะสิ้นสุด ครูควรช่วยเด็กเก็บของเล่นเพื่อเป็นแบบอย่างและทําให้เด็กสนุกสนาน ครูต้องไม่ใช้การเก็บของเล่นเข้าที่เป็นการลงโทษเด็ก
นอกจากนี้สื่อจะต้องจัดวางไว้ในระดับสายตาเด็ก (Eye-level)เพื่อให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน สามารถหยิบใช้และจัดเก็บได้ด้วยตนเองไม่ใช้อยู่สูงจนเป็นอันตรายเวลาเอื้อมหยิบ หรือต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ให้หยิบให้ตลอดเวลา

กระบวนการวางแผน-ปฏิบัติ-ทบทวน การวางแผน (Plan)
การวางแผน คือ กระบวนการคิดของเด็กเกี่ยวกับเป้าหมายที่จะกําหนดการกระทําที่คาดหวัง การวางแผนของเด็กขึ้นอยู่กับอายุ ความสามารถทางการสื่อสารและการใช้ภาษา เด็กอาจวางแผนโดยการกระทําท่าทางหรือคําพูด การวางแผนมีความสําคัญเนื่องจากเป็นการสนับสนุนความคิด การเลือกและการตัดสินใจของเด็กที่ชัดเจน ส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กมีความสนใจการเล่นที่ได้วางแผนไว้ ส่งเสริมพัฒนาการการเล่นที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
ในช่วงการวางแผนเด็กจะได้พัฒนาความสามารถในการสื่อถึงความตั้งใจ การวางแผนของเด็กอาจมีทั้ง แผนงานที่ไม่ชัดเจน คือ เด็กสามารถบอกได้เพียงว่าจะเลือกมุมใดแต่ยังไม่มีภาพในใจว่าต้องการทําอะไร แผนงานที่เป็นกิจวัตร คือ เด็กบอกได้ว่าจะเลือกเล่นมุมใด และมีภาพในใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสบการณ์หรือควรใช้วัสดุอุปกรณ์ในแต่ละมุมอย่างไร แผนงานที่มีความละเอียดชัดเจน คือ เด็กสามารถวางแผนงานที่มีความซับซ้อนซึ่งจะกล่าวถึงกิจกรรม กระบวนการ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเป้าหมายหรือผลผลิต เด็กจะได้วางแผนที่หลากหลายตลอดเวลา ได้สร้างแผนงานจริงๆ ซึ่งเกิดขึ้นในขณะทํางาน
ครูสามารถสนับสนุนการวางแผนของเด็กได้โดยการสังเกตลักษณะแผนงานของเด็กแต่ละคน วางแผนกับเด็กอย่างใกล้ชิด จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และประสบการณ์ที่ช่วยทําให้เด็กมีความสนใจในการวางแผนสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับแผนงานของเด็ก ทั้งนี้ วิธีที่เด็กใช้วางแผนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การปฏิบัติ / การทํางาน (Do / Work time)การทํางานเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้ลงมือกระทํา เล่น และแก้ปัญหาอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตั้งอกตั้งใจ และได้เรียนรู้ตามประสบการณ์สําคัญ
ช่วงเวลาการทํางานเป็นช่วงที่เด็กได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ ค้นพบความคิดใหม่ๆ เป็นช่วงที่เด็กต้องเลือกและตัดสินใจใช้วัสดุอุปกรณ์บริเวณและขั้นตอนในการเล่น ซึ่งทําให้เด็กเป็นผู้ทํางานอย่างจริงจัง เด็กได้การเล่นของเด็กคือความต้องการที่จะสํารวจ ทดลอง ประดิษฐ์ สร้างสรรค์และเลียนแบบ ดังนั้น เมื่อเด็กได้วางแผน กิจกรรมจึงมีลักษณะทั้งการทํางานที่จริงจังและการเล่นที่มีความสนุกสนานและสร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เด็กได้มีส่วนร่วมในสังคมจากการวางแผนเล่นเป็นคู่หรือกลุ่ม หรือทํางานคนเดียวแต่ตระหนักถึงผู้อื่น และได้แก่ ปัญหาจากการทํางานที่เด็กจะพบว่ามีทั้งสิ่งที่เป็นไปตามที่เขาคาดหวังและปัญหา เขาจะค้นพบความรู้ใหม่ที่ทําให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับลักษณะกายภาพและสังคม การลงมือกระทําจากสิ่งที่เด็กริเริ่มและประสบการณ์ตรงทําให้เด็กได้สรรค์สร้างความรู้ด้วยตนเอง
ครูสังเกต เรียนรู้ และสนับสนุนการเล่นของเด็ก ในช่วงการทํางานครูสามารถค้นพบได้ว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการคิดและใช้เหตุผลอย่างไร มักจะเล่นกับใครเสมอๆ เด็กได้ใช้ความรู้อย่างไรในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแนวทางให้ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กตลอดวัน สิ่งที่เด็กปฏิบัติในช่วงเวลาของการทํางาน คือ การทําตามแผนงาน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และทําให้แผนงานสมบูรณ์เด็กได้เล่นในบริบททางสังคมที่มีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ ทั้งการเล่นแบบสํารวจ สร้างสรรค์ บทบาทสมมติ และเกม เด็กได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและครูอย่างเป็นธรรมชาติ
ครูสามารถสนับสนุนเด็กในช่วงเวลาของการทํางานได้โดยการสังเกตลักษณะการทํางานของเด็กแต่ละคน จัดเตรียมบริเวณการทํางาน ค้นหาสิ่งที่เด็กกําลังทํา ได้แก่ สถานภาพของการเล่น ( เริ่ม กําลังทําเปลี่ยนแปลงหรือเสร็จสมบูรณ์ตามแผนงาน ) บริบททางสังคม (เล่นคนเดียว เป็นคู่ กลุ่ม ) รูปแบบการเล่น ( สำรวจ สร้างสรรค์ บทบาทสมมติ เกม ) และประสบการณ์สําคัญ ครูสังเกตเด็กเพื่ออํานวยความสะดวก มีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็ก สนทนาและส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็ก พิจารณาปฏิสัมพันธ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกการสังเกตเด็ก

การทบทวน (Recall time)
ช่วงของการทบทวนเป็นช่วงที่เด็กได้สะท้อน พูดคุย และนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่ทําในช่วงการทํางาน ในกระบวนการวางแผนเด็กได้ตั้งเป้าหมายและคาดเดาการกระทําล่วงหน้า ในกระบวนการทบทวนเด็กได้ทําความเข้าใจโดยการใช้ภาษา การอภิปราย และการวิเคราะห์เชื่อมโยงสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการกระทําและประสบการณ์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจและตีความสิ่งที่ได้ปฏิบัติ ได้ตระหนักถึงความเกี่ยวเนื่องจากการวางแผน การกระทํา และผลที่ได้รับ ได้พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง เป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้ฝึกการเล่าเรื่อง การบรรยาย เด็กจะได้ฝึกความสามารถในการแสดงให้ผู้อื่นเห็น และเข้าใจประสบการณ์ของตน ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอดีต การทบทวนทําให้เด็กสะท้อนกลับไปยังเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ การกระทําซึ่งได้สำรวจหรือการปรับปรุงแผนงานที่วางไว้ และผลผลิตที่ได้รับในปัจจุบัน ทำให้เขาได้พิจารณาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นตัวชี้นําปัจจุบันและอนาคต นับเป็นทักษะที่นําไปใช้ได้ในชีวิต
ครูสามารถส่งเสริมเด็กในช่วงของการทบทวนโดยการสังเกตการทบทวนของเด็กแต่ละคน ทบทวนกับเด็กในบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น เช่น ทบทวนในกลุ่มอย่างใกล้ชิด ในการทบทวนครูควรช่วยกระตุ้นการระลึกประสบการณ์ของเด็ก จัดหาวัสดุอุปกรณ์ หรือประสบการณ์ที่ทําให้เด็กสนใจ เช่น การเยี่ยมชมตามมุมที่เด็กสร้างไว้ ใช้เกม เช่น เก้าอี้ดนตรีโดยให้เด็กที่ได้นั่งได้ทบทวนก่อน เป็นต้น ใช้เพื่อนร่วมงานหรืออุปกรณ์ร่วมด้วย หรืออาจใช้สัญลักษณ์ เช่น ละครใบ้ แผนภูมิ การวาดรูป เป็นต้น
การประเมิน (Assessment)
ในโปรแกรมไฮสโคป การประเมินถือเป็นงานโดยตรงของครูที่จะต้องตั้งใจปฏิบัติและเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ครูไฮสโคปจะทํางานร่วมกันเป็นคณะ ในแต่ละวันครูทุกคนจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ข้อมูลนี้ได้จากการสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กในกิจวัตรประจําวัน โดยครูจะจดบันทึกสั้นตามสิ่งที่เห็นและได้ยินอย่างเที่ยงตรง สมาชิกครูที่ร่วมกันสอนจะมีการวางแผนประจำวันร่วมกันก่อนที่เด็กจะมาถึงโรงเรียน หรือหลังจากที่เด็กกลับบ้าน หรือในขณะที่เด็กนอนพักผ่อนตอนกลางวัน ครูจะแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเด็ก ทําการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านประสบการณ์สําคัญ และวางแผนสำหรับวันต่อไป
จุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน คือ การประเมินคุณภาพของโปรแกรม และพัฒนาการเด็กซึ่งไฮสโคปได้สร้างแบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (High/Scope Program Quality Assessment หรือ PQA) และแบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (High/Scope Child Observation Record หรือ COR) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (PQA)
ไฮสโคป ได้จัดทําแบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (PQA) ประกอบด้วยมาตรฐานคุณภาพด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดห้องเรียน สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ กิจวัตรประจําวัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก การวางแผน และการประเมินเป็นคณะ ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ผู้ปกครองการฝึกอบรมครูระหว่างประจําการและการนิเทศ ในแต่ละด้านจะแยกออกเป็นข้อย่อย แต่ละข้อย่อยกําหนดเป็นระดับ 1-5 มีขั้นตอนการให้คะแนน PQA ดังนี้
ขั้นที่ 1 บันทึกข้อมูลสนับสนุน รวมทั้งรายการสื่อ วัสด เหตุการณ์สั้นๆ ที่ได้จากการสังเกต รวมทั้งจดบันทึกคําพูดของเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งการจดบันทึกนี้ จะต้องสั้น ตรง กระชับ เฉพาะเจาะจง เป็นจริงตามที่ครูและเด็กพูดหรือปฏิบัติ
ขั้นที่ 2 ขีดเส้นใต้ประโยค พยางค์ ข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นคุณภาพโปรแกรม
ขั้นที่ 3 วงกลมระดับที่เหมาะสม ในแบบประเมินคุณภาพโปรแกรมปฐมวัย (PQA) ว่าอยู่ในระดับ 1, 2, 3, 4 หรือ 5
2. แบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (COR)
COR เป็นเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กที่ไฮสโคปสร้างขึ้นเพื่อนํามาใช้แทนแบบทดสอบซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมกับเด็ก เครื่องมือชิ้นนี้ ไฮสโคปใช้กับเด็กอายุ 2 - 6 ปี โดยสังเกตเด็กขณะทํากิจกรรมปกติในแต่ละวัน ผู้ที่สังเกตจะต้องผ่านการฝึกอบรมการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเพื่อที่จะสามารถใช้ COR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (COR) ช่วยให้ครูที่ทํางานอยู่ในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ได้สังเกต
เด็ก และบันทึกพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในกิจวัตรประจําวันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ COR จะช่วยชี้ให้เห็นทักษะและศักยภาพของเด็กแต่ละคน ทําให้ครูวางแผนการสอน และปรับสื่อการเรียนการสอน เทคนิควิธีการและกิจกรรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล
รายการสังเกตใน COR มี 6 รายการ ตามประสบการณ์สำคัญในไฮสโคป คือ
          1. การริเริ่ม (Initiative)
          2. ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relations)
          3. การนําเสนออย่างสร้างสรรค์ (Creative Representation)
          4. ดนตรีและการเคลื่อนไหว (Music and Movement)
          5. ภาษาและการรู้หนังสือ (Language and Literacy)
          6. ตรรกและคณิตศาสตร์ (logic and Mathematics)

ข้อมูลจาก :  http://www.magickidschool.com

The Alphabet Song